สำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน
Maejo University Institutional Review Board

 สำนักงานคณะจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้บริการ วันจันทร์ - วันพฤหัสบดี เวลา 9.00 น. - 16.00 น.

  1. ทบทวน และพิจารณาให้การรับรอง
    1.  โครงร่างการวิจัยที่เสนอขอรับการพิจารณาครั้งแรก
    2. โครงร่างการวิจัยที่ได้รับการแก้ไข
    3. โครงร่างการวิจัยที่เสนอเพื่อพิจารณาซ้ำ
    4. รายงานความก้าวหน้าของโครงการวิจัยและการต่ออายุหนังสือรับรองการพิจารณาจริยธรรมโครงการวิจัย
    5. การปรับเปลี่ยนโครงการวิจัย
    6. รายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
    7. รายงานการสิ้นสุดโครงการวิจัย
  2. ทบทวน และพิจารณาโครงร่างการวิจัยและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องก่อนการประชุม และเข้าร่วมการประชุมของคณะกรรมการฯ
  3. กำกับและติดตามการรายงานความก้าวหน้าของโครงการวิจัยที่ได้รับการรับรองการพิจารณาจริยธรรมโครงการวิจัย
  4. พิจารณาตรวจเยี่ยมสำรวจสถานที่วิจัยตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการฯ หากได้รับเรื่องร้องเรียน หรือเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรงกับอาสาสมัครหรือผู้เข้าร่วมการวิจัย
  5. พิจารณาการหยุดพักการวิจัยชั่วคราวหรือยุติการรับรองโครงการวิจัยที่ได้รับการรับรองการพิจารณาจริยธรรมโครงการวิจัยแล้ว หากได้รับเรื่องร้องเรียน หรือเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรงกับอาสาสมัครหรือผู้เข้าร่วมการวิจัย (ภายหลังจากการดำเนินการเยี่ยมสำรวจสถานที่วิจัย)
  6. พิจารณาเสนอแต่งตั้งที่ปรึกษาอิสระ เพื่อช่วยเหลือคณะกรรมการฯ เกี่ยวกับความชำนาญเฉพาะด้านในโครงร่างการวิจัยที่เสนอมา เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านระเบียบวิธีวิจัย ผู้แทนของชุมชน หรือกลุ่มผลประโยชน์เฉพาะ
  7. รักษาความลับของข้อมูลในโครงร่างการวิจัย และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

  1. รายงานเบลมองต์ (The Belmont Report)
    สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ihrp.or.th/book/detail/170
  2. ปฏิญญาเฮลซิงกิ (Declaration of Helsinki) ปี 2013 และฉบับปรับปรุง
    สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ihrp.or.th/book/detail/210
  3. The International Conference on Harmonization (ICH) and Guidance for Industries in Good Clinical Practice (GCP)
    สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://ird.sut.ac.th/irdnew/Files/Downloads/IRD/Human/ICH_GCP_ThaiVer.pdf
  4. แนวทางจริยธรรมสากลสำหรับการวิจัยในมนุษย์ (International Ethical Guidelines for Health-related Research Involving Humans) ฉบับปรับปรุงปี ค.ศ. 2016
    สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://cioms.ch/wp-content/uploads/2017/01/WEB-CIOMS-EthicalGuidelines.pdf
  5. แนวทางจริยธรรมการทำวิจัยในคนในประเทศไทย ชมรมจริยธรรมการวิจัยในคนประเทศไทย พ.ศ. 2550
    สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://sp.mahidol.ac.th/pdf/ref/Thai_Ethical_Guidelines_FERCIT.pdf

     มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีนโยบายในการส่งเสริมให้คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ และดำเนินการวิจัยที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์มาตรฐานที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ โดยได้มีการกำหนดพันธกิจหลักด้านการวิจัยและแนวทางยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยไว้อย่างชัดเจน ประกอบกับในปัจจุบันการวิจัยในหลากหลายศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับคนมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการวิจัยดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการรับรองทางด้านจริยธรรมการวิจัยในคนจากหน่วยงานที่ได้มาตรฐานการรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ระดับชาติ

     ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้การดำเนินงานด้านการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นไปในแนวทางการดำเนินงานตามคุณภาพและมาตรฐานสากล มหาวิทยาลัยจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ขึ้น เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เพื่อดำเนินการวางข้อกำหนดและแนวทางการดำเนินงาน และจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยได้ประกาศระเบียบมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ว่าด้วยข้อกำหนดและแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน พ.ศ. 2563 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ 2563 และประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการด้านจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 2 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เพื่อพิจารณารับรองข้อเสนอโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคนของผู้วิจัยซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดหรือสถานที่วิจัยของสถาบันเครือข่าย ให้เป็นไปตามวิธีดำเนินการมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยกำหนด และการอื่น ๆ ที่มหาวิทยาลัยมอบหมายที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมการวิจัยในคน โดยเริ่มพิจารณาโครงร่างการวิจัยครั้งแรกในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565